giradora-top-front1-640x400

พันล้านชีวิตที่อาจเปลี่ยนไป ด้วยเครื่องซักผ้าพลังเท้า GIRADORA

อีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ ที่อยากแปลไทยให้หลายๆคนได้แบ่งปัน :)
“จิแร-ดอร่า” (GIRADORA) ผลิตภัณฑ์ ที่ถูกพัฒนาโดย สองนักเรียนออกแบบ ที่อาจจะเป็นสิ่งต่อไปสำหรับ สิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคม

การเขียนชิ้นนี้ ให้ความสำคัญ ของชิ้นงานโดดเด่นที่เข้าการประกวด สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ปี 2012 โดย รางวัลผลงานออกแบบ (Design Awards—Ed.) ประมาณปีที่แล้ว นักเรียนอเมริกันสองคนชื่อ อเล็กซ์ แคบบูนอค และ จิ เอ ยู่ (Alex Cabunoc and Ji A You) ได้เดินทางจากบ้านเกิดลอสเองเจลลีส ไปที่ เซอโร่ เวอเด (Cerro Verde) สลัมนอกเมืองลิม่า (Lima) ที่มีผู้คนอาศัยอยู่ 30,000 คนเมื่อนักเรียนสองคนต้องการจะเข้าร่วมฉลองงาน Design Matters ที่สถาบัน Art Center College of Design ที่ให้มุ่งเน้นไปที่ ผลงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาสังคม เขาได้มาที่ Cerro Verde ในส่วนของห้องปฎิบัตืการที่เรียกว่า Safe Agua Peru โดยเป้าหมายของเขาคือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่สามารถ บรรเทาปัญหาของการขาดแคลนน้ำ โดยกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้คนที่มีรายได้น้อย ระหว่าง  120 บาท ถึง 300 บาทต่อวัน ($4 – $10)

นักเรียนสองคนนี้ใช้เวลาสองอาทิตย์ใน Cerro Verde ทำงานกับคนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดเพื่อ ผลิตตัวต้นแบบ อย่างเร่งด่วน แต่หลังจากที่ได้กลับมาแล้ว พบว่า ักเรียนเกือบครึ่งที่ร่วมโครงการเดียวกันได้รางวัล International Design Excellence Awards และ สารคดีที่นักเรียนทำเองเกี่ยวกับ การเดินทางชื่อว่า “มือในความเปียกชื้น” (Hands in the Mist) ได้รับเข้ารอบ สำหรับผู้กำกับรุ่นเยาว์ ที่เมืองคานน์

โดยงานของ Cabunoc และ You คือ “เครื่องซักผ้าและเครื่องปั่นแห้งพลังเท้า” ที่มีราคาต่ำกว่า 1,200 บาท ($40) มีชื่อว่า GiraDora หรือ จิแร-ดอร่า ได้รับการสนใจเป็นอย่างมาก

เมื่อเขาสองคนมาถึงสลัม เขาทั้งสองถึงกับตลึงกับชาวท้องถิ่น ใช้เวลาไปอย่างมากมายหมาศาลกับการหาและเก็บน้ำมาเพื่อใช้ในเรื่องปกติ แคบบูนอค จำได้ว่า “เวลา พลังงาน และ ทรัพยากร ถูกใช้ไปอย่างมากในการภาระกิจที่น้ำมาเกี่ยวข้อง เช่น การทำอาหาร และการทำความสะอาด ซึ่งมันได้เบียดเบียนเวลาของกิจกรรมอื่นๆที่เหลือ ที่จะช่วยให้พวกเขาพ้นจากความยากจน”  โดยเฉพาะ การซักผ้า เป็นการใช้เวลาอย่างเปล่าเปลืองเป็นที่สุด โดยมันสามารถกินเวลาไปถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากว่ามัน มีกิจกรรมทางร่างกายหลายๆส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซักผ้า อาทิเช่น การไปตักน้ำใส่ถังใหญ่ๆจากแหล่งน้ำสะอาด และ การทำผ้าแห้งก่อนที่ฝุ่นดินจะเกาะเสียก่อน

เขาทั้งสองคนรู้ว่า เขาได้เปิดโอกาส สำหรับสิ่งประดิษฐ์งานออกแบบเข้าแล้ว “ทำไมหล่ะ เครื่องซักผ้าพลังมนุษย์ ถึงไม่ได้มีอยู่แล้วในทุกวันนี้?” เขาทั้งสอง ต้องทำงาน สร้างแบบกรณีศึกษาจากเครื่องปั่นน้ำแห้งจากผักสลัด หรือ จากเครื่องมืออื่นๆเป็นลักษณะ ใช้แรงมนุษย์ แต่ในขั้นแรก ที่เขาทำสำเร็จก่อนคือ “ต้นแบบของเครื่องปั่นแห้ง” แต่ยังไม่ถึงกับตรงความต้องการของชาวท้องถิ่นมากนัก โดยชาวท้องถิ้นเองที่บังเอิญพบกับความคิดที่ว่า การผสมผสาน เครื่องซักและปั่นแห้งในเครื่องเดียวกัน “โดยเขาคิดว่ามันเป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ชิ้นเดียว” แคบบูนอค เขียนว่า “สิ่งนี้ได้เปลี่ยนแปลงทิศทางงานออกแบบของเราแบบถึงรากถึงแก่นเลยทีเดียว”

เขาสองคนปรับแก้ไขแนวคิด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นในพื้นจริง ณ ชุมชนแห่งนั้น มันออกมาคล้ายคลึงกับ ต้นแบบแรกเริ่ม จิแร ดอร่า คือ ถังสีฟ้าที่มีตะแกรงหมุนได้อยู่ด้านใน ที่จะทำความสะอาดเสื้อผ้าและทำให้มันแห้ง โดยที่มันใช้แรงจากด้ามเท้าถีบ และออกแบบให้ผู้ใช้งานสามารถนั่งอยู่บนฝาของตัวถังต่างเก้าอี้ขณะใช้งาน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มการทรงตัวของตัวถังขณะทำงานให้มั่งคงมากขึ้น

และการนั่งบนฝาถังนั้น ทำให้ลดอาการปวดหลังจากการก้มซักผ้าด้วยมือแบบเดิมๆ แล้วยังทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วยได้ในขณะเดียวกัน

โดยตัว ถังสามารถเคลื่อย้ายง่าย ซึ่งทำให้สามารถเคลื่อนไปไกล้ที่แหล่งน้ำ หรือ เก็บไว้ในร่มวันฝนตก มันสามารถลดอัตราการเสี่ยงของสุขภาพ เช่น ไขข้อกระดูกเสื่อม ผิวหนังอักเสบ และการสูดดมฝุ่นควัน และสำคัญที่สุดคือ มันใช้ น้ำน้อยกว่า แต่สะอาดมากกว่าการซักมือแบบเดิมๆ ทั้งหมดนี้เท่ากับว่า เป็นการมีเวลาว่างที่เพิ่มขึ้น แคบบูนอค อธิบาย และ เป็นโอกาส ที่จะทำลายวงจรความยากจนนั่นเอง

 

จิแร-ดอร่า อาจเป็นเพียงโปรเจคนักเรียกที่ถูกลืมได้ไม่ยาก แต่ แคบูนอค ผู้ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกิจการ ใช้เวลากว่าครึ่งปีที่ผ่านมา เสาะหาผู้สนับสนุนทั้งผู้ส่งเสริมทางการศึกษาและนายทุน โดยเขา แคบูนอค และ เพื่อนร่วมก่อตั้ง ยู่ ได้นำ เครื่องซักและปั่นผ้าแห้ง จิแร-ดอร่า ไปที่ประเทศ ชิลี สำหรับการทดลองครั้งที่สอง และเก็บผลสำรวจ เพื่อทำการพัฒนา ต้นแบบตัวที่สอง โดยชิ้นงานของเขาได้ถูกเชิญให้ไปเปิดตัวในหลายงานประชุม และได้รางวัลมากมาย อาทิเช่น Dwell, Core77, Dell Social Innovation Challenge, and the International Design Excellence Awards.

และแล้ว ในฤดูใบไม้ผลิ เขาสองคน ได้รับรางวัลเป็นเงินจำนวน $19,500 จาก NCIIA E-Team และนี่เป็นจุดเริ่มตั้นที่จะนำ จิแร-ดอร่า จากงานโครงการงานประดิษฐ์ ให้เป็นผลงานที่ใช้ได้จริง โดยในปีต่อไป นักประดิษฐ์ทั้งคู่จะได้เดินทางกลับไปประเทศ ชิลี และ เปรู กว่าสองครั้งเพื่อที่จะทดสอบ โครงสร้างธุรกิจของเขา และ ติดตามผลเรื่องระยะเวลาความคงทน ถ้าทั้งหมดนี้ไปได้ดี เขาสองคนสามารถที่จะไปสู่โปรแกรมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ภายในปีหน้า โดยมีแผนจะดำเนินการต่อไปที่ประเทศอินเดียหลังจากนั้น

นักออกแบบสิ่งประดิษฐ์อธิบายว่า ยังคงเป็นทางอีกยาวไกลบนเส้นทางนี้ ใครที่กล่าวว่า เป้าหมายอีก 5 ปีต่อไปของเขาคือ ไปให้ถึง “อย่างน้อย 15%” ของเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 1 พันล้านคนก็พอ แต่..อะไรที่เรียกว่าเป็นการวัดผลความสำเร็จของ จิแร-ดอร่า หน่ะหรือ? “พูดเชิงเสียดสีได้ว่า เมื่อครัวเรือนใด โตเกินกว่าจะใช้ จิแร-ดอร่า นั่นคือเขาได้ขยับยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเขา”

Ref. www.fastcodesign.com

 

Leave a Comment

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

Google+